pearleus

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วช. - ไออาร์พีซี - ม.เกษตร จับมือสร้างต้นแบบ Zero Plastic Waste นำประเทศปลอดขยะพลาสติก -เริ่มพัฒนารีไซเคิลมาตรฐานปลอดภัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 .ธ.ค.62 สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)ไออาร์พีซี จับมือ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศเจตนารมณ์ "นำประเทศสู่สังคม Zero Plastic Waste"ร่วมด้วยบริษัทผู้ผลิตชิ้นงานพลาสติก (Converter) 15 บริษัท ร่วมเป็นต้นแบบสู่สังคมปลอดขยะพลาสติก ตั้งเป้าขยายความร่วมมือสู่ผู้ผลิตรายอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกตลอด Supply Chain ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว


ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน บนฐานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาได้สนับสนุนงานวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : ทะเลไทยไร้ขยะ ซึ่งการสนับสนุนครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่ง วช. ได้นำหลักการ Sharing as Beneficial Principle จะเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก โดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาระบบการรับรอง Zero Plastic Waste สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกขึ้น เพื่อให้การรับรองอุตสาหกรรมที่ลดการเกิดขยะพลาสติกได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือขยะพลาสติกเป็นศูนย์ โดยบริษัท

ทั้งนี้ ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองดังกล่าวในกระบวนการผลิต หรือ Zero Plastic Waste in Production Process ระบบการรับรอง Zero Plastic Waste ที่สร้างขึ้นจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศ และเป็นแม่แบบให้แก่ 10 ประเทศในกลุ่ม ASEAN ในอนาคต

นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กล่าวว่า เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาที่เกิดจากขยะพลาสติก (Waste Polymer) ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ขณะที่บริษัท IRPC ซึ่งดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นน้ำมันบนพื้นฐานของความยั่งยืนเสมอมา IRPC จึงได้ร่วมกับ วช.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะพลาสติกจากแหล่งกำเนิดอย่างยั่งยืน โดยไม่ปล่อยให้มีของเสียออกจากกระบวนการผลิต (Zero Plastic Waste in Production Process)ดังกล่าว

โดยความร่วมมือเป็นไปตามโมเดล POLIMAXX ECO Solution ของ IRPC คือโมเดลต้นแบบการจัดการพลาสติกในโรงงานผลิต ที่ IRPC สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดการ Recycle อย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานแบบ Close Loop ไม่ทำให้ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตออกนอกระบบไปเป็นภาระแก่ชุมชนและสังคมรวมถึงการนำ Big Data สร้างเป็นฐานข้อมูล Plastic Waste Platform เพื่อรวบรวมขยะพลาสติกจากแหล่งผลิตแต่ละโรงงานทั้งของ IRPC และลูกค้า ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการขยะพลาสติกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประหยัดงบประมาณ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า


ปัจจุบัน IRPC มีการบริหารจัดการขยะพลาสติกในกระบวนการผลิตที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งการร่วมมือกับ วช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งนี้ จะช่วยยกระดับในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ใช้งบประมาณน้อย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุด

"ในวันนี้ IRPC ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกจำนวน 15 ราย เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ IRPC และ วช. เพื่อร่วมนำประเทศสู่สังคม Zero Plastic Waste ในหลากหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของไทย ผู้ผลิตและออกแบบของใช้ของแต่งบ้านที่ได้รางวัลมาหลายเวที ผู้ผลิต food packaging รายใหญ่ที่ส่งให้ร้านอาหารทั่วประเทศ ผู้ผลิตกระดาษเปียกหรือผ้า Spunbond และ ผลิตถุงกระสอบส่งออกทั่วโลก, ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และ บริษัท compound plastic ชั้นนำ" นายนพดล  กล่าว


พร้อมเสริมอีกว่า ตลาดมีความต้องสินค้าพลาสติกรีไซเคิลเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะผู้บริโภคในยุโรป ขณะเดียวกันก็ต้องการความมั่นในสินค้าจากพลาสติกรีไซเคิลนั้นมีประสิทธิภาพ มีความทนทาน และปลอดภัย ซึ่ง IRPC จะเป็นโรงงานแรกที่จะขอรับการประเมินจากการตรวจสอบและให้คำแนะนำทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีเป้าหมายผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล ให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทางด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ผู้ใช้พลาสติกรีไซเคิลนั้นต้องการความมั่นใจว่า พลาสติกรีไซเคิลจะมีประสิทธิภาพการใช้งานเหมือนพลาสติก ทั้งการขึ้นรูป ความทนทาน ทนความร้อน รวมถึงเรื่องความปลอดภัย ซึ่งข้อมูลและกระบวนการวิจัยจะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ และมีกระบวนการผลิตที่มั่นใจได้ว่ามีการรีไซเคิลจริงตั้งแต่กระบวนการเก็บขยะพลาสติก คัดแยก ผลิตขึ้นรูป นำไปใช้แล้วเก็บกลับมารีไซเคิลใหม่ เป็นการหมุนวนการใช้ทรัพยากรต่อเนื่องไม่เหลือทิ้ง

ทั้งนี้ศ.นพ.ศิริฤกษ์ ระบุว่า ยังต้องมีการวิจัยในเรื่องจำเพาะอื่นๆ เช่น พลาสติกรีไซเคิลที่ใช้กับอาหารนั้นมีความปลอดภัยไหม ก่อให้เกิดภูมิแพ้หรือไม่ ซึ่งความคาดหวังจากโครงการนี้มี 2 อย่าง คือ กระบวนการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และคาดหวังว่าจะเกิดเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เกิดการหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น