สงกรานต์ สงกรานต์ สงกรานต์ ๒๕๖๘
เทศกาลสำคัญของไทยในรอบปี ไม่มีเทศกาลใดยิ่งใหญ่เท่าเทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีชาวต่างชาติบินมาร่วมงานเกือบทั่วโลก ราชการถึงกับประกาศหยุดราชการแต่ละปีหลายวันเพื่อให้ประชาชนต่างจังหวัดที่มาทำงานทั่วประเทศได้กลับบ้านไปทำบุญ พบญาติและสนุกสนานสาดน้ำเย็นทั่วหล้า
สงกรานต์ปี ๒๕๖๘ ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวังประกาศว่า ปีมะเส็ง (มนุษย์ผู้ชาย) ธาตุไฟ สัปตศก จุลศักราช ๑๓๘๗ ทางจันทรคติเป็นอธิกวาร ทางสุริยะคติเป็นปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๐๔ นาฬิกา ๒๘ นาที ๒๘ วินาที
นางสงกรานต์นามว่า "ทุงสะเทวี" ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทม์ราค ภักษาหารอุทุมพร (มะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตย์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังครุฑเป็นพาหนะ
วันที่ ๑๖ เมษายน เยฝวลา ๐๘ นาฬิกา ๒๗ นาที ๓๖ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๗ ปีนี้วันศุกร์เป็นวันธงชัย วันศุกร์สุขภาพเป็นอธิบดี วันพฤหัสบดีเป็นอุบาทสนนมทนว์ วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ
ปีนี้วันพุธเป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๖๐๐ ห่าตกในโลกมนุษย์ ๖๕ ตกในมหาสมุทร ๑๒๕ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๘๕ ตกในเขาจักรวาล ๒๔๕ นาคให้น้ำ ๕ ตัวเกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ ๖ ชื่อลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล ๙ ส่วน เสีย ๑ ส่วน ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังสาหารจะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ ประชาชนทั้งหลายจะเป็นสุขสมบูรณ์แล เกณฑ์ธาราธิคุณตกราศีอาโป (น้ำ) มาก
ตำนานสงกรานต์มีบันทึกเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงการผ่าน หรือเคลื่อนย้ายของกลุ่มดาวฤกษ์จักราศี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่โบราณสมัยรวมถึงไทย ประเพณีสงกรานต์จะมีการทำบุญทำทาน สรงน้ำ การละเล่นและสาดน้ำเพื่อคลายร้อนรวมไปถึงปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป
ที่มาของสงกรานต์ประวัตกล่าว่า มีลูกชายเเศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนฉลาดหลักแหลมมีชื่อเสียง ชื่อธรรมกุมาร ท้าวกบิลพรหมรู้กิตติศัพท์จึงเสด็จลงมาจากสวรรค์ท้าทายปัญหาเชาว์ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา
ในท้ายที่สุดธรรมกุมารเฉลยปัญหาได้หมด ท้าวกบิลพรหมจึงต้องตัดเศียรตามสัญญา แต่ศีรษะขององค์ท่านหากตกสู่พื้นจะทำให้เกิดเพลิงไหม้โลก พระอินทร์จึงสั่งให้บาทจาริกา ๗ นาง (บางตำนานว่าเป็นธิดาท้าวกบิลพรหม) ทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรแห่รอบเขาพระสุเมรุปีละ ๑ ครั้งในวันมหาสงกรานต์
ชื่อนางสงกรานต์ทั้ง ๗ มีหน้าที่อัญเชิญศีรษะในวันมหาสงกรานต์สลับหมุนเวียนตามวัน ดังนี้
๑ วันอาทิตย์ นางทุงษเทวี
๒ วันจันทร์ นางโคราดเทวี
๓ วันอังคาร นางรากษสเทวี
๔ วันพุธ นางมณฑาเทวี
๕ วันพฤหัส นางกิริณีเทวี
๖ วันศุกร์ นางกิมิทาเทวี (ปี ๒๕๖๖)
๗ วันเสาร์ นางมโหทรเทวี
ประเพณีสงกรานต์เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย และเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติเดินทางมาร่วมชมงานจำนวนมากทุกปี กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงเห็นควรรณรงค์ให้ประชาชนปฎิบัติตามแบบของประเพณีทึ่เหมาะสมตามภูมิหลังของวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ จึงมีแนวทางและมาตรการในการจัดประเพณีสงกรานต์หลายข้อภายใต้โครงการ "สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมใจสู่สากล"
ผู้เขียนขอสรุปคำแนะนำเฉพาะที่เห็นว่ามีความสำคัญมาเพียงสามข้อ ได้แก่
0 รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันสืบสานคุณค่าของประเพณีเช่น สรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ทำบุญตักบาตร ขอพรผู้สูงอายุ
0 รณรงค์ให้ประชาชนแต่งกายที่สร้างภาพลักษณ์ของความเป็นไทยเช่นแต่งชุดไทย ผ้าไทย เพื่อสร้างความรับรู้อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้ต่างชาติชื่นชม
0 สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย
ประเพณีสงกรานต์ รุ่นปู่ย่าตาทวดปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมหลายหลาก หลายกิจกรรมทั้งทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ บังสุกุลอัฐิ ปล่อยนกปล่อยปลา รดน้ำขอพระผู้ใหญ่ ขนทรายเข้าวัด ส่วนการสาดน้ำใส่กันมีเกิดขึ้นมาภายหลัง
กิจกรรมดังกล่าวปัจจุบันขาดหายไปอย่างหนึ่ง คือ "ขนทรายเข้าวัด" ซึ่งบรรพบุรุษออกแบบมาอย่างแยบยลคือหลังจากทำบุญแล้วก็จะมีการก่อเจดีย์ทราย (ก่อพระทราย) โดยต้องนำทรายมาจากบ้านแล้วก่อเป็นรูปเจดีย์มีการปักธงศาสนา ประดับดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชา ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นเทศกาลนี้แล้ววัดก็จะได้ประโยชน์จากทรายทำการปฏิสังขรณ์วัด หรือถมพื้นที่ให้สูงขึ้น เชื่อกันว่าผู้ขนทรายเข้าวัดจะได้อานิสงค์เพิ่มพูล เงินทองไหลมาเทมาเหมือนทรายที่เพิ่มขึ้น
รดน้ำดำหัวเป็นประเพณีของชาวล้านนาไทยแต่โบราณ และต่อมาแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาค การรดน้ำดำหัวมี ๓ กรณีคือ
๑ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ขอพรผู้ใหญ่ได้แก่พ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่
๒ รดน้ำดำหัวตัวเอง ขจัดปัดเป่าภัยให้พ้นตัว
๓ รดน้ำดำหัวผู้น้อย ให้พรผู้น้อย รวมทั้งเพื่อนและบุคคลอื่น
น้ำทึ่ใช้รดน้ำดำหัวจะใช้น้ำส้มป่อย หรือน้ำมะกรูด เสกคาถาภาษาบาลีว่า "สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ" แปลว่า "จงมีสุข ความเจริญ หมดทุกข์ หมดโรค มีโชคตลอดไป" ทั้งนึ้จะทำกันในวันเถลิงศก คือวันสุดท้ายแห่งเทศกาล
สงกรานต์แต่โบราณนานมา ไม่พบบันทึกว่ามีการสาดน้ำเหมือนประเพณีฮินดูที่เรียกว่าโฮลี หรือเทศกาลสาดสี แต่พบในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชถอนทัพจากพม่า ทรงเลือกถอนในวันสงกรานต์เนื่องจากทหารพม่าเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันกองทัพไทยจึงถอนทัพได้โดยสดวก นอกจากนี้มีแต่การใช้น้ำสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ผู้น้อย คนที่รู้จักและเคารพนับถือโดยนำน้ำสะอาดที่เจือน้ำหอม น้ำอบไทย ดอกไม้หอมรดทึ่มือทั้งสองฝ่าย สันนิษฐานว่าการรดน้ำขอพรหรือให้พรซึ่งกันและกันแล้วแพร่ขยายมาเป็นสาดน้ำให้กันในกลุ่มผู้คนหรือกลุ่มชนหมู่มากในเวลาต่อมา
สำหรับสมุทรสาคร สนับสนุนการจัดงานสงกรานต์ภายใต้คำขวัญ " สงกรานต์สาครบุรี สืบสานวิถีไทยสู่สากล" ถือเป็นเรื่องดีคู่กับเทศกาลต้นปีทึ่มี "ตรุษจีน" "เล่งเกียฉู่" สืบสานตำนานมังกรสาครบุรี "
ประเพณีอันดีงามนี้มีสิ่งดีงามมากมายที่คนไทยและคนสาครบุรีตัองช่วยกันรักษาไว้ตกทอดไปถึงลูกหลานในอนาคต เพราะเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติไทยโดยแท้ไม่ได้ลอกเลียนมาจากชาติใด สิ่งใดทำแล้วให้สุขก็จงทำ แต่ให้ทุกข์แก่ผู้อื่นเช่นสาดน้ำลวนลามผู้หญิง หรือสาดน้ำใส่คนทึ่กำลังทำงานหรือขณะเดินทางไปปฏิบัติงาน อย่าหาทำ
สวัสดีปีใหม่ไทย สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น