
นางธนาภรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้คนพิการทุกประเภทมีศักยภาพ ดำรงชีวิตอิสระ สู่สังคม อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556ตามมาตรา 20 ว่าด้วยสิทธิและสวัสดิการด้านคนพิการ ทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพทางสังคม การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บริการล่ามภาษามือ สัตว์นำทาง เบี้ยความพิการ ผู้ช่วยคนพิการ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐซึ่งคนพิการจะได้รับสิทธิสวัสดิการต่างๆ ได้โดยการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียน โดยพก. ได้พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อการให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คนพิการสามารถพกพาบัตรประจำตัวคนพิการ แทนสมุดประจำตัวได้อย่างสะดวก ซึ่งเริ่มใช้งานมาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
อธิบดีพก.ยังระบุด้วยว่าจากนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อปรับรูปแบบของระบบราชการ ให้น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ และเป็นที่พึ่งของประชาชน พก. จึงได้ร่วมกับ กรมการปกครอง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บูรณาการข้อมูลคนพิการของประเทศไทยเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับคนพิการ ในวันนี้ จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการใช้บัตรประจำตัวประชาชน แบบอแนกประสงค์ (Smart Card) แทนบัตรประจำตัวคนพิการ “ทุกสิทธิคนพิการ ผ่านบัตรประชาชนใบเดียว : One Card All Rights” ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการข้อมูลสู่ Big Data ด้วยการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงฐานข้อมูลของ 3 หน่วยงาน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงงานบริการภาครัฐ คนพิการสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนใบเดียวในการติดต่อราชการและรับสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของภาครัฐได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการในการเข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นและลดการใช้เอกสาร

ด้านนายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ด้านการรักษาพยาบาล การสนับสนุนการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้กับคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อการใช้บัตร Smart Card ในการรับสิทธิสวัสดิการภาครัฐ ได้ทำการแลกเลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกับ สปสช. เพื่อเปลี่ยนแปลงสิทธิประกันสุขภาพ และจัดส่งข้อมูลคนพิการให้กับสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เพื่อบันทึกลงในบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Chip Smartcard)


0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น